FREE DELIVERY | *T&C APPLY.

เปิดตำนานหัวฟักทอง “Jack O’Lantern” สัญลักษณ์สุดอินเทรนด์ประจำเทศกาลฮาโลวีน

nikola johnny mirkovic 48Tefvc2BaQ unsplash 1

เทศกาลฮาโลวีนใกล้จะวนเวียนมาให้ทุกคน ทั้งเด็กน้อยและผู้ใหญ่ได้สนุกไปกับการแต่งตัวแฟนซี เล่น Trick or Treat กันอีกครั้งในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ และเมื่อนึกถึงวันฮาโลวีน แน่นอนว่าสัญลักษณ์ประจำวันนี้ ที่ติดตา และติดอยู่ในความทรงจำทุกคนจะต้องหนีไม่พ้นตะเกียงหัวฟักทอง ที่นำมาแกะสลักเป็นหน้าปิศาจ หริอที่รู้จักกันในชื่อ   “แจ๊ค โอ แลนเทิร์น (Jack O’Lantern)”    นั่นเอง

 

และเพื่อความอินเทรนด์ Superdry เลยขอนำเสนอประวัติความเป็นมาของเจ้าหัวฟักทองสีส้ม Jack O’Lantern นี้ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เกี่ยวข้องอะไรกับเทศกาลฮาโลวีน ไปอ่านกันเลย!

จริงๆ แล้วเรื่องราวของ Jack O’Lantern มีอยู่ด้วยกันหลากหลาย แล้วแต่ว่าใครจะเป็นคนเล่า แต่ส่วนใหญ่ล้วนมีจุดกำเนิดอยู่ที่ประเทศไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ ซึ่งในตอนนี้ เราจะขอยกมานำเสนอทั้งหมด 2 ตำนานด้วยกัน

miguel teirlinck qeiyUaSX6fk unsplash

ตำนานแรก เป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับวันสุดท้ายของฤดูกาลเก็บเกี่ยว หรือที่เรียกกันว่า วัน Samhain ซึ่งเป็นประเพณีของชาว Celtic โดยมีความเชื่อกันว่า ในวันนี้ เป็นวันที่ช่วงเวลาบนโลกมนุษย์ มีความทับซ้อนและเข้าใกล้โลกหลังความตายมากที่สุด ชาวบ้านจึงเกิดความกลัวขึ้นมาว่าเหล่าวิญญาณร้ายอาจแฝงตัวท่ามกลางมนุษย์

 

ดังนั้น ชาว Celtic จึงคิดกลอุบายให้ทุกคนแต่งตัวเป็นผี เพื่อให้เหล่าภูติผีแยกไม่ออกว่าคนไหนคือมนุษย์ และจุดตะเกียงเพื่อปัดเป่าวิญญาณ แต่ในยุคนั้นสินค้าที่ทำจากโลหะนั้นล้วนมีราคาสูงลิบลิ่ว และตะเกียงในสมัยนั้นก็ทำขึ้นจากโลหะ ด้วยสาเหตุนี้เอง เพื่อเป็นการประหยัดงบ ประกอบกับในช่วงนั้นก็เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยว ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่หันมาใช้พืชผักที่หาง่ายแทน เช่น มันฝรั่ง หัวผักกาดเทอร์นิพ และฟักทอง มาแกะสลักให้เป็นใบหน้าของปิศาจและนำมาทำเป็นตะเกียงนั่นเอง

f573db3de90886e39ee7aff349f2aab17b2106c97c5802a8ccb9b6c826598b07

Photo: Courtesy of Publish0x.com

ส่วนอีกตำนานนั้นจะออกแนวแฟนตาซีหน่อยๆ แต่ก็ปอปปูลาร์ไม่แพ้กัน เป็นนิทานพื้นบ้านของชาวไอริชที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่ราวๆ ศตวรรษที่ 18 เกี่ยวกับ “Stingy Jack” เรื่องมีอยู่ว่า มีชายชาวไอริชคนหนึ่งนามว่า แจ็ค ซึ่งเป็นคนที่มีนิสัยไม่ดีนัก ทั้งขี้งกและขี้โกง จนชาวบ้านต่างพากันเหนื่อยหน่าย และตั้งสมญานามให้ว่า “แจ็คจอมงก” และ “แจ็คผู้ชั่วช้า” ความชั่วของเขาทำให้เหล่าซาตานจะมาพาวิญญาณของเขาไปลงนรกอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยความเจ้าเล่ห์ที่มีอยู่มากมาย ทำให้แจ็คหลอกลวง ปั่นหัวเหล่าซาตานอยู่หลายครั้งจนซาตานท้อถอยและล้มเลิกความคิดที่จะพาวิญญาณเขาไปในที่สุด

 

 

ต่อมา เมื่อแจ็คได้เสียชีวิตลง ก็กลับกลายเป็นว่าทั้งสวรรค์และนรก ต่างก็ปฏิเสธที่จะรับดวงวิญญาณของเขาไป แจ็คก็เลยต้องกลายเป็นวิญญาณเร่ร่อน และติดอยู่บนโลกไปตลอดกาล และทำได้เพียงใช้ถ่านไฟจากนรกมาใส่ตะเกียงที่ทำจากหัวผัก เพื่อนำทางในตอนกลางคืน ทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อว่า เมื่อไหร่ที่เห็นแสงไฟริบหรี่อยู่ในความมืด อาจจะเป็นแสงไฟจากวิญญาณเร่ร่อนของแจ็คก็เป็นได้ จากนั้นต่อมา ชาวบ้านจึงให้ชื่อกับดวงไฟดวงนั้นว่า Jack of the Lantern หรือ ตะเกียงของแจ็ค หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เพี้ยนมาเป็น Jack O’Lantern

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ Jack O’Lantern นั้นสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวบ้านจำนวนมาก ดังนั้นเหล่าชาวบ้านจึงเริ่มคิดวิธีป้องกันวิญญาณของแจ็ค ด้วยการนำตะเกียงที่ทำจากหัวผักต่างๆ มาวางไว้ตามหน้าต่างและหน้าบ้าน เพราะเชื่อว่าจะขับไล่แจ็คและวิญญาณร้ายต่างๆ จนกลายเป็นวัฒนธรมสืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

 

และเมื่อชาวไอริชและชาวสก็อตแลนด์ มีการอพยพย้ายถิ่นไปยังสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมการจุดตะเกียงหน้าปิศาจนี้ไปเผยแพร่ด้วย จนกลายมาเป็นเทศกาลฮาโลวีนอย่างเช่นในปัจจุบัน

shutterstock 1833629548

ปิดท้ายด้วยสถิติน้อยเกี่ยวกับเทศกาลฮาโลวีน โดยผลสำรวจจาก NFR (National Retail Federation) บอกว่าในปีนี้ประชาชนถึง 69% มีแนวโน้มที่จะกลับมาเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนกันอีกครั้งหลังจากผ่านช่วงโควิดระบาดมา โดยทาง NFR ยังได้ทำการสำรวจคอสตูมที่เป็นที่นิยมในเด็กๆ ผู้ใหญ่ และคอสตูมที่คนนิยมแต่งให้สัตว์เลี้ยงในปี 2022 นี้ โดยมีผลการสำรวจ ดังนี้

 

 

เด็ก: 1. สไปเดอร์แมน 2. เจ้าหญิง 3. แม่มด

ผู้ใหญ่: 1. แม่มด 2. แวมไพร์ 3. ผีอื่นๆ

สัตว์เลี้ยง: 1. ฟักทอง 2. ฮอตด็อก 3. ค้างคาว

แล้วคุณล่ะ? มีคอสตูมสำหรับใส่ไปงานฮาโลวีนกันรึยัง? ถ้ายังไม่รู้จะใส่อะไร ลองแวะเข้าไปดูไอเดียได้ ที่นี่ เลย!

อ้างอิง:

https://nrf.com/media-center/press-releases/halloween-participation-returns-pre-pandemic-levels-record-spending

Share

More Like This...

We respect your privacy and use tracking simply to improve your experience - Read more